วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

รายงานการรับฟังข้อเสนอบริษัทฯ







น.อ.สุวัจ ดอนสกุล รองผอ.กปจ.กพร.ทร.และเลขานุการฯ คณะทำงานฯ ทร. และน.ท.สาธิต ฯ คณะทำงานฯ เข้ารับฟังข้อเสนอบริษัทฯ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และได้สรุปรายงานผลการรับฟังฯ เทื่อ ๒๔ ส.ค.๕๑ ตามข้างบน

รายงานความก้าวหน้าระบบประสานการช่วยเหลือประชาชนกองทัพเรือ ครั้งที่ ๑






รายงานความก้าวหน้าระบบประสานการช่วยเหลือประชาชนกองทัพเรือ ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๑๔ ส.ค.๕๑

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คำสั่ง ศปก.ทร./ศบภ.ทร. แต่งตั้งคณะทำงานฯ



สามารถคลิกดรายละเอียดได้ที่รูปภาพ

ข้อกำหนดขอบเขตของงาน (Terms of Reference)

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ออก ข้อกำหนดขอบเขตของงาน (Terms of Reference) เบื้องต้นของระบบ แล้วนำเข้าส่ระบบเว็บของกระทรวงฯ เพื่อให้บริษัทที่พัฒนาเข้ามาดูและเสนอแนะปรับแก้ไขแล้ว สามารถเรีกดูได้ที่ http://www.mict.go.th/home/1N4.html

ความเป็นมาของโครงการ (ต่อ)

สืบเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบราชการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุน ในการปฏิบัติราชการ และใช้ระบบสารสนเทศมาใช้ในงานการบริการ ต่างๆที่สามารถช่วยเหลือประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล
โดยทาง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ มีภารกิจหลักในการอำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับ การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ และตามที่ได้รับมอบหมาย โดยถือตามนโยบายหลักของกองทัพเรือให้เป็นการปฏิบัติอย่างเร่งด่วน ซึ่งการดำเนินการต่างๆ นั้น คือ
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยและวาตภัย
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยหนาว
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอัคคีภัย
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในแม่น้ำเจ้าพระยา
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในทะเล
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากแผ่นดินไหว และอาคารถล่ม
- การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ จึงควรที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารการจัดการช่วยเหลือประชาชนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานดังกล่าว โดยจะจัดสร้างระบบช่วยเหลือประชาชนอิเล็กทรอนิคส์ แบบบูรณการ(e-Service) เพื่อให้เป็นศูนย์รวบรวมความต้องการช่วยเหลือตามที่ภาครัฐ และ เอกชน ร้องขอ ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลไว้ประมวลผลงาน เพื่อนำมาให้ทราบถึงการปฏิบัติงานในแต่ละจุด ว่าได้เข้าถึงความต้องการของภาครัฐ และ ประชาชนตามจุดประสงค์ที่ร้องขอหรือ ไม่ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ และ เงื่อนไขของกองทัพเรือ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลความช่วยเหลือแต่ละประเภทได้ทันกับทุกเหตุการณ์ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน โดยผ่านระบบเครือข่ายอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังเป็นการประหยัดทรัพยากรและงบประมาณในการจัดซื้อ จัดหาเอกสารและวัสดุครุภัณฑ์ที่เป็นส่วนกลางซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
ทร.อนุมัติหลักการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุนการจัดทำโครงการพัฒนาระบบประสานการช่วยเหลือประชาชนกองทัพเรือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ ศปก.ทร. กำกับดูแลในภาพรวม โดยสามารถแต่งตั้งคณะทำงานฯ ได้ตามความเหมาะสม รายละเอียดตามบันทึก กพร.ทร. ที่ กห ๐๕๐๘/๕๒๓ ลง ๒๖ มี.ค.๕๑

ความเป็นมาของโครงการ

รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e - Government) เป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ และมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผลักดันให้ภาครัฐนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับความสามารถในการดำเนินการบริหารจัดการและการบริการประชาชน โดยมียุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งคือ การพัฒนาให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Service) ในการนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงได้กำหนดแผนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาระบบบริการภาครัฐฯ ให้กับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (ศบภ.ทร.) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบประสานการช่วยเหลือประชาชน กองทัพเรือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ทร.อนุมัติหลักการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุนการจัดทำโครงการพัฒนาระบบประสานการช่วยเหลือประชาชนกองทัพเรือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กับให้ ศปก.ทร.(ศบภ.ทร.) กำกับดูแลในภาพรวม โดยสามารถแต่งตั้งคณะทำงานฯ ได้ตามความเหมาะสม รายละเอียดตามบันทึก กพร.ทร. ที่ กห ๐๕๐๘/๕๒๓ ลง ๒๖ มี.ค.๕๑ ดังนั้น ศปก.ทร. (ศบภ.ทร.) จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานควบคุมการพัฒนาระบบฯ ตามคำสั่ง ศปก.ทร. ที่ ลง โดยมี จก.กพร.ทร. ในฐานะ หน.ฝกร.ศปก.ทร. เป็นผู้ประธานฯ
ขอบเขตหน้าที่ของคณะทำงานฯ จะทำหน้าที่ประสานการพัฒนาระบบกับทางกระทรวง ICT และบริษัทฯที่พัฒนาระบบอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดความต้องการระบบ ขอบเขตระบบ และกำกับดูแลการพัฒนาระบบ ตลอดจนรายงานผลความก้าวหน้าให้ ศปก.ทร. ทราบตามห้วงเวลา